ความสำคัญของการประเมินคุณภาพการให้บริการในโรงพยาบาล
การประเมินคุณภาพการให้บริการในโรงพยาบาลถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในระบบสุขภาพสมัยใหม่ เนื่องจากการบริการที่มีคุณภาพสูงไม่เพียงแต่เพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วย แต่ยังส่งผลให้มีผลลัพธ์ทางการแพทย์ที่ดียิ่งขึ้น ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน และช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
-
การเพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วย:
การประเมินคุณภาพการให้บริการช่วยให้โรงพยาบาลสามารถปรับปรุงการบริการให้ตรงกับความต้องการและความคาดหวังของผู้ป่วย การที่ผู้ป่วยรู้สึกพึงพอใจในการรับบริการจะส่งผลให้พวกเขามีความไว้วางใจในระบบสุขภาพมากขึ้น และอาจนำไปสู่การแนะนำบริการให้กับผู้อื่น -
การพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล:
การประเมินผลการรักษาพยาบาลสามารถช่วยในการตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย -
การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ:
การตรวจสอบและประเมินคุณภาพการให้บริการช่วยให้โรงพยาบาลสามารถใช้ทรัพยากรทั้งด้านบุคลากรและวัสดุอุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความสูญเสียและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ -
การสร้างมาตรฐานและความโปร่งใส:
การประเมินคุณภาพจะเป็นการกำหนดมาตรฐานการให้บริการที่ชัดเจน ทำให้บุคลากรทางการแพทย์และผู้บริหารโรงพยาบาลสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ ซึ่งจะช่วยลดความคลาดเคลื่อนและเพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน
รูปแบบการนำไปใช้งาน
โดยการทำแบบประเมินของ SurveySlash สามารถนำมาปรับใช้ในลักษณะการทำงานที่หลายแบบดังนี้
Counter service
การประเมินเคาน์เตอร์บริการ
สามารถนำไปใช้ประเมินเคาน์เตอร์บริการอาทิเช่น จุดประชาสัมพันธ์, จุดชำระเงิน, จ่ายยา หรือ หน่วยงานอื่นๅภายในโรงพยาบาล
โดยงานลักษณะดังกล่าวจะเหมาะกับเครื่องที่ใช้สำหรับตั้งบนโต๊ะให้บริการ
Department
การประเมินศูนย์และแผนกบริการ
การประเมินศูนย์และแผนกบริการทางการแพทย์ โดยสามารถจำแนกผลการประเมินออกเป็นหน่วยต่างๆ
เพื่อให้เห็นถึงคุณภาพการให้บริการแต่ละส่วนชัดเจน อาทิเช่น การประเมินศูนย์หัวใจ, ศูนย์กระดูกและข้อ, ศูนย์ทันตกรรม เป็นต้น
Restroom
การประเมินความสะอาดภายในห้องน้ำ
หากโรงพยาบาลให้ความสำคัญต่อความสะอาดภายในห้องน้ำ
ก็สามารถใช้งานระบบเพื่อสร้างการประเมินเฉพาะสำหรับห้องน้ำโดยสามารถกำหนดขอบเขตการประเมินอาทิเช่น
การประเมินเฉพาะห้อง หรือ การประเมินเป็นพื้นที่รับผิดชอบ
Onsite Service
การประเมินแบบ Onsite
เหมาะกับการประเมินในลักษณะที่ต้องเข้าพบผู้ป่วยนอกสถานที่ หรือ ภายในห้องพักผู้ป่าวย (IPD) โดยระบบรองรับการพิมพ์ QR-Code
ผ่านกระดาษความร้อน ซึ่งรหัสที่ออกมาสามารถระบุหน่วยประเมินที่ต้องการให้ประเมิน และมีความพิเศษคือ 1 รหัสสามารถทำการประเมินได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น